แพทย์ผ่าตัดนำ “หาง” ออกจากก้นทารกเพศหญิงได้สำเร็จ ถือเป็นเคสหายาก พบเพียง 40 คนทั่วโลก

ทารกที่เกิดผ่านทางการผ่าตัดคลอด ที่โรงพยาบาลในชนบททางตะวันออกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ทำให้ทีมแพทย์แปลกใจ เมื่อพบว่าบั้นท้ายของเธอมีหางงอกออกมา วัดความยาวได้ 5.7 ซม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 3 มม. ถึง 5 มม. ตลอดความยาว แพทย์สังเกตว่าหางถูกปกคลุมด้วยขนและผิวหนัง แต่จากผลเอ็กซ์เรย์ไม่พบโครงสร้างกระดูกภายในหาง

แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายของทารกเป็นอันดับแรก พบว่าทั้งหัวใจ การได้ยิน และสมองยังปกติดี จากนั้นลองใช้เข็มทิ่มที่หาง ปรากฎว่าเด็กร้องไห้ออกมา พิสูจน์ได้บอกว่าหาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอย่างแท้จริง ทั้งนี้แพทย์สังเกตว่าหางถูกปกคลุมด้วยขนและผิวหนัง แต่จากผลเอ็กซ์เรย์ไม่พบโครงสร้างกระดูกภายในหาง มีเพียงเนื้อเยื่อและไขมันปกติซึ่งไม่เป็นอันตราย

หลังจากทารกเพศหญิงรายดังกล่าวอายุครบ 2 เดือน ก็ได้รับการประเมินอีกครั้งโดยทีมกุมารเวชศาสตร์และศัลยศาสตร์ทั่วไป พบว่าโครงสร้างหางก็ยาวขึ้นตามการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยยาวขึ้นอีก 0.8 ซม. จึงตัดสินใจผ่าตัดเอาหางออก ซึ่งการผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่น เด็กออกจากโรงพยาบาลด้วยสุขภาพที่ดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้ชีวิตได้ปกติไม่ต่างจากเด็กทั่วไป

ตามรายงานระบุด้วยว่า พ่อแม่ของทารกหญิงเป็นคู่สามีภรรยาที่อายุน้อย อยู่ในช่วงอายุ 20 ปลายๆ ซึ่งสุขภาพแข็งแรงดีทั้งคู่ และแม่ไม่มีประวัติการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ หรือได้รับรังสีใดๆ กรณีของทารกที่มีหางเช่นนี้ค่อนข้างหายาก โดยมีเพียง 40 เคสในโลกเท่านั้น