ศึกแห่งศักดิ์ศรีนักล่า “วิจิตร” เสือหนุ่มตำนานแห่งห้วยขาแข้ง-แม่วงก์ ตายแล้ว พบร่องรอยการต่อสู้ บาดเจ็บหนัก

วันนี้(14 ม.ค. 66) ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ออกมาเปิดเผยว่า พบร่างของเสือโคร่ง ตายในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หลักจากที่ตรวจสอบแล้วพบว่าข้อมูลตรงกับ เสือวิจิตร เสือหนุ่มที่มาจากห้วยขาแข้ง

  • เตือนระวัง “วิจิตร” เสือโคร่งห้วยขาแข้ง เดินออกนอกเขตอุทยานฯ 3 วันยังหาไม่เจอ

นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา ได้รับแจ้งว่าจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หลังเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.6 ทางวิทยุสื่อสารว่า พบเสือโคร่งขนาดโตเต็มวัยนอนนิ่งอยู่บริเวณลำห้วย ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าไปตรวจสอบพบว่าเสือโคร่งตัวนี้เสียชีวิตแล้ว

จากการตรวจสอบบริเวณลำตัว และคอ มีบาดแผลคล้ายกับถูกฟันเขี้ยวของสัตว์ป่ากัด และมีร่องรอยเล็บของสัตว์ป่าขนาดใหญ่อยู่ทั่วทั้งลำตัว บริเวณข้อเท้าหน้าหัก และมีแผลเน่าหลายจุด ตรวจสอบบริเวณโดยรอบไม่พบคน หรือสิ่งผิดปกติอะไร จึงได้ประสานขอนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เข้าไปตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายในพื้นที่ แต่เนื่องจากระยะทางไกล จึงทำให้ไม่สามารถเข้าไปพิสูจน์ในพื้นที่เกิดเหตุได้ จึงขอกำลังขนย้ายเสื้อโคร่งจรากที่เกิดเหตุออกมราตรวจสอบสาเหตุการตาย ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

และในวันที่ 11 ม.ค. 66 ที่ผ่านมา นางสาวพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) พร้อมกับเจ้าหน้าที่ ได้เข้าตรวจพิสูจน์เสือโคร่งที่ตาย พร้อมทั้งผ่าพิสูจน์ซาก พบว่าเป็นเสื้อโคร่งตัวผู้ โตเต็มวัย ความยาวลำตัวประมาณ 265 ซม. น้ำหนักประมาณ 100 กก. อายุประมาณ 7-8 ปี ลักษณะภายนอกของซากเริ่มเน่าเปื่อย ขนหลุดร่วงเป็นบางบริเวณ พบหนอนแมลงวันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ คาดว่าตายมาประมาณ 3 วัน 

บาดแผลที่พบมีลักษณะกลมและรี ซึ่งเป็นลักษณะของบาดแผลที่เกิดจากรอยเขี้ยวสัตว์ทั่วลำตัว บริเวณหลัง ต้นคอ ขาหน้า และขาหลัง โดยบริเวณขาหน้าทั้ง 2 ข้าง พบบาดแผลจำนวนมาก และพบบาดแผลเป็นทางยาวขนาด ประมาณ 3-5 เซนติเมตร คล้ายบาดแผลที่เกิดจากรอยเล็บสัตว์ ข้อเท้าหน้าซ้ายหัก ทำการเปิดผ่าซาก พบว่ากล้ามเนื้อบริเวณที่มีบาดแผลเป็นสีดำคล้ำต่างจากบริเวณที่ไม่มีบาดแผล พบก้อนหนองแทรกตามกล้ามเนื้อ สันนิษฐานได้ว่าเกิดการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว

เมื่อตรวจสอบจากภาพถ่ายที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานถ่ายมา ไม่พบรอยเลือดในบริเวณที่เจอร่างของเสือวิจิตร จึงคาดการณ์ได้ว่า บาดแผลที่พบตามลำตัวของเสือโคร่งไม่ใช่บาดแผลสด สันนิษฐานสาเหตุการตายของเสือโคร่งได้ว่า เกิดการติดเชื้อจากบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นการตายตามธรรมชาติ

ซึ่งเมื่อตรววจสอบ และเปรียบเทียบแล้ว พบว่าลวดลายบนตัวเสือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ พบว่าเสือโคร่งมีรหัสข้อมูลตามโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง WWF หรือชื่อ “เสือวิจิตร” ที่ข้อมูลสถานีวิจัยเขานางรำบันทึกไว้ จากข้อมูลบันทึก พบว่าเสือวิจิตร เป็นเสือหนุ่ม ที่มีอายุประมาณ 5 ปี เกิดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เริ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และคลองลาน ใกล้บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และจุดสกัดแม่กระสา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งในบริเวณนี้จะมีเสือตัวเมียประจำถิ่น และมีสัตว์เหยื่อ เช่น กวางป่า และมีความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าในจุดอื่น จึงได้เพิ่มการแพร่พันธุ์ของกวางป่า ในพื้นที่ 

ซึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงกันมีเสือโคร่งตัวผู้ประจำถิ่นครองอาณาเขตบริเวณนั้นอยู่ด้วย จึงมีโอกาสได้ว่าอาจจะต่อสู้กันเพื่อครอบครองอาณาเขต อันอาจเป็นสาเหตุของการตายของเสือวิจิตรในครั้งนี้